กฐินพระราชทาน2559

ดูภาพงานวันทอดผ้าพระกฐินพระราชทานปี 2559 กดที่ภาพด้านล่างนี้

img_7358

IMG_2223ภาพเก่างานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
IMG_2210

กำหนดการ
พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช
ณ.วัดป่าโคเปนเฮเกนครบ

ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙
วันเสาร์ที่  ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
*****************************
วันเสาร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๙
เวลา   ๑๐.๐๐  น.  สาธุชนพร้อมเพรียงกันที่วัด
เวลา   ๑๐.๒๐   น. ไหว้พระสวดมนต์
เวลา   ๑๐.๔๕  น. ร่วมกันตักบาตรของแห้ง  แด่พระสงฆ์
เวลา   ๑๒.๐๐  น. รับประทานอาหารร่วมกัน
เวลา  ๑๒.๔๕ น. เรียนเชิญท่านทูตนางสาววิมล คิดชอบ เอกอัครราชทูตไทย
ประจำกรุงโคเปนเฮเกนกล่าวไว้อาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชส่งเสด็จสวรรคาลัย
เวลา   ๑๓.๐๙  น. พิธีทอดผ้าพระกฐินพระราชทาน
– พระสงฆ์ให้พร
– รับของที่ระลึก
– เสร็จพิธี
พระเทพปริยัติวิมล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
ผู้ถวายอดิเรก (ถวายพร กับผ้าพระกฐินพระราชทาน)

 


 ชมภาพงานกฐินพระราชทานปี 2557

ชมภาพบรรยากาศงานกฐินพระราชทานปี 2557 โดยHenrik´s camera

ชมภาพบรรยากาศงานกฐินพระราชทานปี 2557 โดยRasmussen`s camera ชุดที่ 1

ชมภาพบรรยากาศงานกฐินพระราชทานปี 2557 โดยRasmussen`s camera ชุดที่ 2

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม นี้ งานพระกฐินพระราชทาน ประวัติการทอดกฐิน
คำว่า “กฐิน” เป็นชื่อของสังฆกรรมชนิดหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่ต้องใช้พระสงฆ์ร่วมเป็นพยานในการทำ ๕ รูปเป็นอย่างน้อย คือ ๔ รูป เป็นองค์สงฆ์หรือพยาน และอีก ๑ รูปเป็นองค์ครองผ้ากฐิน รวมเป็น ๕ รูป ภาษาสังฆ์กรรมของพระเรียกว่า “ปัญจวรรค”
นอกจากนี้คำว่า “กฐิน” เป็นชื่อของไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขึงในเวลาเย็บจีวร ภาษาไทยเรียกว่าไม้สดึง” ภาษาบาลีใช้คำว่า “กฐิน”

ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ 30 รูป ชาวเมืองปาฐา ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกในแคว้นโกศล เดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต อันมีระยะทางห่างจากเมืองสาวัตถีราว 6 โยชน์
ภิกษุทั้ง 30 รูป ล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์และต่างมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้เฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีโดยไม่มีการรั้งรอแม้ว่ายังเป็นช่วงที่ฝนยังตกหนักน้ำท่วมอยู่ทั่วไป แม้จะต้องฝ่าแดดกรำฝน ลุยฝน อย่างไรก็ไม่ย่อท้อ เมื่อภิกษุทั้ง 30 รูป ได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสมความตั้งใจแล้ว ครั้นพระองค์ตรัสรู้ถามจึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสธรรมมิกถา ภิกษุเหล่านั้นก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ผลในลำดับนั้น พระบรมศาสดาดำริถึงความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้น จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ สำหรับในเมืองได้ผ่านวันออกพรรษาแล้ว นางวิสาขาได้ทราบพุทธานุญาตและได้เป็นผู้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก


บุญกฐิน…. มีกำหนดทำกันในระหว่างแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วผ้าที่เป็นผ้ากฐินได้คือผ้าที่ได้มาโดยชอบหรือโดยสุจริต ส่วนผ้าที่ทำเป็นผ้ากฐินไม่ได้คือ ผ้าที่ได้มาโดยมิชอบหรือโดยทุจริต
เรื่องของประเภทของกฐิน…โดยทั่วไปจะเป็นที่เข้าใจว่ากันว่ากฐินมี ๒ แบบ คือ “จุลลกฐิน” และ “มหากฐิน” จุลกฐินเป็นกฐินเล็กหรือกฐินแล่น เป็นกฐินที่ต้องทำให้เสร็จในวันเดียว เริ่มตั้งแต่การปั่นด้าย ทอด้าย เย็บ ย้อมและถวายต้องให้เสร็จในวันนั้น กฐินชนิดนี้นานๆ จะมีคนทำ เพราะความยุ่งยากและต้องใช้คนมาก ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันจริงๆ ส่วนใหญ่จะนิยมทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการทอดกฐิน ส่วนมหากฐินเป็นกฐินใหญ่ เป็นกฐินที่นอกจากจะมีผ้าไตรจีวรแล้ว ยังมีเครื่องบริวารกฐินอีกจำนวนมาก และใช้ระยะเตรียมงานมากกว่าจุลกฐิน แต่ก็เป็นที่นิยมทำกันเพราะมีความสะดวกพอสมควร
ประเภทของกฐินอีกอย่างหนึ่งคือ กฐินหลวง” และ “กฐินราษฎร์” กฐินหลวงหมายถึงกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินไปทอดเอง หรือพระราชทานแก่หน่วยงานต่างๆ บริษัท ห้างร้าน พ่อค้า ประชาชนที่มีจิตศรัทธา นำไปถวายตามวัดที่เป็นพระอารามหลวงต่างๆ ทั่วประเทศ ส่วนกฐินราษฎร์หมายถึง กฐินที่ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้ชักชวนกันจัดทำขึ้น เพื่อนำไปถวายวัดต่างๆ ที่ได้จองไว้แล้ว ซึ่งกฐินราษฎร์นี้หมายถึง กฐินสามัคคีและกฐินที่ปัจเจกบุคคลด้วย



 

ภาพงานกฐินปีพ.ศ. 2556

29 ตุลาคมนี้ 2559 งานกฐินพระราชทาน