วันเข้าพรรษาปี 2560

ผู้สนใจร่วมโรงทานติดต่อแจ้งให้ทางวัดทราบ ร่วมบุญกุศลสามัคคีรวมใจมีการอุปสมบทพระภิกษุ
วันเสาร์ที่ 1 กรกฏาคม เวลา 08.00 น ปลงผมผู้ที่จะเข้าบวชปีนี้
ท่านผู้ใดสนใจจะมาร่วมบุญบวชสืบทอดพระพุทธศาสนา
ติดต่อได้ก่อนเลยกำหนด อนุโมทนาร่วมเป็นเจ้าภาพยินดีต้อนรับ
วันเสาร์ที่ 1 และอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม หล่อเทียนเข้าพรรษา
กำหนดการจัดงาน วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา 8 และ 9 กรกฏาคม 2560
วันเสาร์ที่ 8 กนกฏาคม 2560 10.30 น.
ทำบุญตักบาตรไหว้พระสวดมนต์
– หล่อเทียนจำนำพรรษา
– พิธีเวียนเทียนเนื่องในวันอาสาฬหบูชา
อาทิตย์ที่ 9 กรกฏาคม 2560 09.00 น ทำบุญตักบาตรไหว้พระสวดมนต์
– ถวายภัตตาหาร พระสงฆ์ฉันเพล
– สาธุชนร่วมรับประทานอาหาร 12.30 น.
กล่าวคำถวายเทียนจำนำพรรษา-ผ้าอาบน้ำฝน
– ทำพิธีขอขมาลาโทษพระสงฆ์
– ปวารณาเข้าพรรษา เสร็จพิธี  
ร่วมหล่อเทียนเข้าพรรษาเพื่อให้แสงธรรมปัญญาความเป็นศิริมงคลแก่ตัวท่านเองอนุโมทนากับทุกท่านที่ได้ร่วมงานบุญกับทางวัดป่าโคเปนเฮเกนมาโดยตลอดขอให้ทุกท่านจงประสบแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป เทอญ คณะสงฆ์วัดป่าโคเปนเฮเกนสังคาเม มะตัง เสยโย ยัญเจ ชีเว ปะราชะโย

ตายในสนามรบ ยังดีกว่าอยู่อย่างผู้พ่ายแพ้
วันเข้าพรรษาปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที 8 กรกฏาคม
ไม่มีการบวชเนกขัมมะระหว่างวันที่ 1-2 กรกฏาคม 2560
เวียนเทียนวันอาสาฬหบูชา และเข้าพรรษา
วันเสาร์ที่ 8 และ วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฏาคม 2560

หล่อเทียนเข้าพรรษ

เชิญร่วมหล่อเทียนเข้าพรรษาปี 2560 
ในวันที่ 8-9 กรกฏาคมนี้ เวลา 12.30
ทำพิธีหล่อเทียน เข้าพรรษา และเวียนเทียน อธิษฐานใจ
ร่วมหล่อเทียนเข้าพรรษาให้มีความสุข โชคดี ตลอดหน้าร้อนปีนี้
และตลอดไป ร่วมบวชพระภิกษุเข้าพรรษาปีนี้
วันที่ 1กรกฏาคม 2560 ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘ 
” เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน”
หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน
โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์
และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็น
ต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้า
และพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษา
ให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่
วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมา
เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียว
นั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ
หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้าน
หรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตาม สมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคน
ไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง
เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า “วิหาร”
แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึง
หน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย
บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบ
เงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า “อาราม” ให้เป็นที่อยู่ของ
สงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ โดย ปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มี
ประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด
หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝน
ต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้
ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา
นับเป็นเหตุให้ มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา “ผ้าจำนำพรรษา” คือผ้าที่
ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล
เรียกอีกอย่างว่า “ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา” “ผ้าอาบน้ำฝน” คือผ้าสำหรับอธิษฐาน
ไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า “ผ้าวัสสิกสาฏิกา”
การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชน
หลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ
ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง
ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป
พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์การปฏิบัติตน
ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้
ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตน
เคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธาน
ในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้ง
ทางบกและทางน้ำแม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือ
เป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษา
ชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง
วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด
บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์
เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่า
การเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูงประเพณี
หล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลา
ที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียน
เข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมี
การสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย
พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้
พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทาน
ด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท
การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อ
เสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระ
ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่
แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว
ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น 

 
ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี http://www.ubonguide.com/

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร
๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ