พระปิยะมหาราช

พระปิยะมหาราช 23 ตุลาคม

พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ฯ ทรงเสด็จครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2441 ขณะที่มีพระชนมายุ 15 พรรษา

พระราชกรณียกิจที่ทรงกระทำ ล้วนเป็นการนำประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ด้วยพระปรีชาสามารถ ปวงประชาราษฎร์จึงพร้อมกันถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช ทรงมีพระราชกรณีกิจที่สำคัญอาทิเช่น

ด้านการปกครอง ทรงยกเลิกจตุสดมภ์(เวียง วัง คลัง นา) มาเป็นระบบกระทรวง ทรงแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ทรงตั้งกรมตำรวจภูธร ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ด้านการศึกษา ทรงตั้งกระทรวงธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฏรที่วัดมหรรณพาราม โปรดฯให้คัดเลือกนักเรียนที่เรียนดี และข้าราชการไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ หรือดูงานในต่างประเทศมากขึ้น ทรงจัดตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน

ด้าน การคมนาคม ทรงโปรดให้มีการเดินรถไฟ เริ่มใช้รถราง สร้างถนนราชดำเนิน ถนนเยาวราช เริ่มมีการใช้รถยนต์โดยเฉพาะรถที่ขับเคลื่อนด้วยจักรกล

ด้านการสาธารณูปโภค ทรงเริ่มกิจการไฟฟ้า ประปา และกิจการไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์

ด้านการคลัง ทรงตั้งกรมธนบัตร ประกาศใช้ธนบัตร และทรงจัดทำงบประมาณแผ่นดิน เมื่อพ.ศ.2439

ด้านการสาธารณสุข ทรงจัดตั้งสภากาชาด ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยฯลฯ

ด้านการวรรณกรรม ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง เงาะป่า ลิขิต นิทราชาคริต พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ทรงเริ่มการเล่นละครนอก ละครในฯลฯ

ด้าน การต่างประเทศ ทรงดำเนินการนโยบายผ่อนสั้นผ่อนยาว ยอมเสียน้อยเพื่อรักษาส่วนไว้ ทรงประพาสยุโรป 2 ครั้ง เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจ และเพื่อนำความเจริญกลับมาสู่ประเทศไทย

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์คือ การเลิกทาส ในปี พ.ศ. 2448

สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 42 ปี